วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้สมบัติของแก๊สเป็นเกณฑ์


บรรยากาศชั้นโทรโฟสเฟียร์ (Troposphere)
 - มีระยะความสูงจากผิวโลกขึ้นไปไม่เกิน 12 km
 - ส่วนผสมของอากาศที่สำคัญ ได้แก่ ไอน้ำ
 - มีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเกิดขึ้นมาก
บรรยากาศชั้นโอโซนโนสเฟียร์ (Ozonosphere)
 - มีระยะความสูงจากโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปจนถึงระดับความสูง 50-55 km จากผิวโลก
 - ส่วนผสมของอากาศที่สำคัญ ได้แก่ แก๊สโอโซน มากที่สุด
บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere)
 - มีระยะความสูงจากโอโซโนสเฟียร์ขึ้นไปจนถึงระดับความสูงประมาณ 600 km จากผิวโลก
 - มีอากาศน้อยมาก เกิดการแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้า เรียก ไอออน (Ion)
 - อากาศมีสมบัติทางไฟฟ้า ซึ่งช่วยในการสื่อสารวิทยุ
บรรยากาศชั้นเอกโซสเฟียร์ (Exosphere)
 - บรรยากาศชั้นนอกสุดของโลก
 - บรรยากาศชั้นนี้จะค่อยๆกลืนกับอวกาศ
 - ยากที่จะกำหนดขอบเขตได้
 - มีโมเลกุลแก๊สที่น้อยมาก และเป็นแก๊สที่เบา เช่น Hydrogen และ Helium

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น