วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หวัดดีครับเด็กๆ ต้อนรับปิดเทอม

ครูแอบดูนะว่ามาเข้าค่ายบางคนก็ได้ความรู้บางคนก้มาเพื่อสนุกสนานหวังว่าเทอมสองคงจะน่ารักเรียบร้อยกันทุกคน เพราะผลบุญที่ทำมาทำให้ไม่ตกวิทย์ใครพลาดเกรดสี่วิทย์ เทอมสองเอาใหม่นะเพราะเกรดสี่นั้นอยู่แค่เอื้อมถ้าเราทุกคนตั้งใจเรียนและอ่านหนังสือ ที่แน่ๆอย่าดื้อละกันมะงั้นครูไม่ปล่อยแน่งานนี้และก็ปิดเทอมก็อย่าสนุกจนลืมอ่านหนังสือนะครับ และก็ความปลอดภัยสำคัญอย่างยิ่งหวังว่าเปิดเทอมคงมาเรียนกันครบทุกคนนะ สนุกกับวันปิดเทอมนะคร้าบบบบบ

ครู โก้

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

หวัดดีคร้าบบบบเด็กๆ

ครูหวังว่าเด็กๆคงเข้ามาดูแนวข้อสอบกันแล้วนะ ครูว่าใคร

อ่านตามนี้ไม่พลาดแน่นอน แต่เอ๊ะตอนนี้จับหนังสือมาอ่าน

กันยัง อย่ามัวแต่แชทนะ hi 5 ก็อย่าเพิ่งยุ่งกับมันนะช่วงนี้

เอาหนังสือไว้ก่อน ครูขออวยพรให้คนที่อ่านหนังสือและ

ทบทวนได้เกรด 4 กันทุกคนนะครับบบบบบบบบบ   สาธุ...






I want nobody nobody but you.

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

ครูมีนิทานมาให้อ่านนะครับ (อ่านแล้วคิดยังไงบอกกันด้วยนะ)

"นิทาน" (บ้านของก้อนเมฆ) : Karมิยะ


ล้อจักรยาน หมุน หมุน

หมูตัวน้อยกำลังปั่น ปั่น ปั่น

ฟ้าใส ใส เมฆขาว ขาว

ยอดหญ้าเอนพลิ้ว พลิ้ว


"หมูน้อย เธอจะไปไหน"

นกกระจอกบินร่อนมาเกาะถาม

หมูน้อยปั่น ปั่นช้าลงก่อนก้มหน้ามาตอบ

"ฉันจะไปตามหาความ รู้ ที่บ้านของก้อนเมฆ"

"บ้านของก้อนเมฆอยู่ไกลมั้ย"

นกกระจอกถาม

"ไม่รู้สิ ฉันต้องไปถึงก่อนถึงจะตอบเธอได้"


นกกระจอกบินจากไป

เจ้าหมูน้อยยังปั่นต่อ

ดวงตาเป็นประกาย

รอยยิ้มเบิกบาน


ผีเสื้อปีกสวยบินมาเกาะ

ถามคำถามไม่ผิดจากนกกระจอก

หมูน้อยก็ตอบแบบเดียวกัน

"ฉันจะไปตามหาความรู้ ที่บ้านของก้อนเมฆ"

ผีเสื้อถามอย่างสงสัย

"บ้านของก้อนเมฆต้องอยู่บนฟ้า...

เธอขี่จักรยานอย่างนี้จะไปถึงได้อย่างไร"


หมูน้อยจนคำตอบ

ผีเสื้อแสนสวยบินจากไป


หมูน้อยสงสัย

เขาจะไปถึงบ้านก้อนเมฆ

ด้วยจักรยานได้อย่างไร...

ถึงสงสัย เขาก็ยังไม่หยุดปั่น ปั่น


ล้อจักรยานหมุน หมุน

หมูน้อยยังไม่หยุดปั่น ปั่น

ความสงสัยไม่อาจทำให้ถึงที่หมาย

การปั่น ปั่นเช่นนี้

อย่างน้อยก็ทำให้เขาได้เดินทาง


แมลงปอปีกใสมาเกาะหน้ารถ

ถามคำถามเดียวกับนกกระจอก

พอได้คำตอบแรก ก็ถามต่อเหมือนผีเสื้อ

"เธอจะขี่จักรยานไปบ้านของก้อนเมฆได้อย่างไร"

คราวนี้หมูน้อยมีคำตอบ

"แล้วมีใครบอกเธอหรือ…

ว่าบ้านของก้อนเมฆต้องอยู่บนฟ้า…

ใครคนนั้นเคยไปถึงตั้งแต่เมื่อไหร่"


แมลงปอตอบไม่ถูก

คำถามนี้เป็นเพียงความคิด

ตนเองไม่รู้จักกระทั่ง บ้านของก้อนเมฆ

จะให้เคยไป หรือ รู้จักคนที่ไปถึงได้อย่างไร


หมูน้อยยังปั่น ปั่น

แดดแรง ร้อน ร้อน

หมูน้อยเหนื่อย แต่ยังไม่หยุดปั่น


ไม่นานก็มีตั๊กแตนกระโดดมาเกาะหน้ารถ

คำถามเดิมมีมาอีกครา

"เธอจะไปไหนหมูน้อย"

"ฉันจะไปตามหาความรู้ ที่บ้านของก้อนเมฆ" "อ้อ..."

ตั๊กแตนทรงภูมิปัญญาพูดผิดจากผู้อื่น

"แล้วเธอรู้มั้ยว่าบ้านของก้อนเมฆอยู่ที่ไหน"

"ไม่รู้หรอก แต่ฉันมั่นใจว่าต้องหาเจอ"

หมูน้อยตอบอย่างมุ่งมั่น

"เธอจะควานหา โดยการปั่นจักรยาน…

แบบไม่มีจุดหมาย ทิศทางอย่างนั้นหรือ..."

"ฉันมั่นใจ"

หมูน้อยไม่กลัว

"ถ้าทำอย่างนั้น เธอก็จะทำได้เพียง…

เดินทางอย่างเปล่าประโยชน์ไปทั่วโลก"

"แล้วฉันควรทำอย่างไร"

เป็นครั้งแรกที่หมูน้อยเอ่ยปากถาม

คำถามที่เกิดประโยชน์แก่ตนเอง


ตั๊กแตนตอบ

"เธอต้องหาให้ได้ก่อน ว่าก้อนเมฆ…

เกิดมาจากไหน...ถ้าเธอตามรู้ จนเห็น

ที่เกิดของก้อนเมฆ...

เธอก็จะรู้...บ้านของก้อนเมฆอยู่ที่ไหน"


ตั๊กแตนจากไป

หมูน้อยสงสัย...

จะตามดูการเกิดของก้อนเมฆอย่างไร

..ความสงสัยไม่ทำให้รู้ได้...

..อยากรู้ต้อง ดู เอง…


หมูน้อยปั่น ปั่น ปั่น

ไม่หยุด

อยากรู้ก้อนเมฆเกิดอย่างไร

ก็ต้อง ตามดู ก้อนเมฆ


คราวนี้หมูน้อยปั่นจักรยาน

อย่างมีจุดหมาย

ตามดูเมฆขาวที่ลอยบนฟ้า

ไม่ว่าเมฆเคลื่อนที่ไปไหน

เปลี่ยนแปลงอย่างไร

หมูน้อยตามดูไม่ลดละ


เมฆขาวลอยตัวพบเพื่อนพ้อง

เกาะกลุ่มหนาแน่นเข้า

สีขาวกลายเป็นมืดครึ้ม

หมูน้อยปั่นจักรยานตามดู

ไม่คลาดคลา


เมฆหนาแน่น ลอยต่ำ

จนเหมือนจะเอื้อมถึง

หมูน้อยเพิ่งมองเห็นกลุ่มเมฆ

ใกล้ชัดถนัดตา


ไม่นานเลย

หมู่เมฆกลั่นตัวเป็นฝน

ห่าใหญ่


ฝนแรกสาดซัด

หมูน้อย...


ล้อจักรยานหยุดหมุน

หมูน้อยยืนนิ่ง

ทั้งร่างอาบฝนเปียกปอน


รอยยิ้มปีติแก่ใจ

บ้านของก้อนเมฆ

อยู่ไหน

ไม่ใช่ปัญหา


ความรู้ ที่แสวงหา

จะพบได้อย่างไร

ไม่จำเป็นแล้ว


เมื่อเมฆกลั่นตัวเป็นฝน

แล้วเมฆจะเกิดจากสิ่งใด

รู้ ปลายก็ รู้ ต้น

รู้ที่เกิดแล้วยากอะไร...

จะตามเข้าให้ถึง

บ้านของก้อนเมฆ


ธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๑๓ พฤหัสบดีที่ ๐๕ เมษายน ๒๕๕๐

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

ห้อง ม.1/6 มารายงานตัวที่นี่ครับ

ศึกษาด้วยนะครับ

ห้อง ม.1/4 มารายงานตัวที่นี่ครับ

ศึกษาด้วยนะครับ

ห้อง ม.1/2 มารายงานตัวที่นี่ครับ

ศึกษาด้วยนะครับ

ห้อง ม.1/1 มารายงานตัวที่นี่ครับ

อ่านด้วยนะครับ

อุณหภูมิ ความชื้น และความดันอากาศ


ในการศึกษาชั้นบรรยากาศ และปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศ (โดยเฉพาะชั้นโทรโพสเฟียร์) เราจำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติพื้นฐานของอากาศ เพื่อใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการอธิบายสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น (เมฆ, ฝน, ลม, พายุ, ...) ซึ่งสมบัติของอากาศที่สำคัญ คือ อุณหภูมิของอากาศ ความชื้นของอากาศ และความดันอากาศ

ในแผนที่อากาศมีอะไร?


เราจะเรียกชื่อพายุได้อย่างไร


ในการเรียกชื่อพายุ มีได้ 3 แบบ คือ
                1. เรียกตามทิศทางในการเคลื่อนที่ของพายุหมุน
                ไซโคลน (Cyclone) ลมพายุที่พัดหมุนวนจากบริเวณความกดอากาศสูงเข้าสู่ศูนย์กลางที่มีความกดากาศต่ำ (ถ้าเกิดในเขตร้อน เรียก พายุหมุนเขตร้อน แต่ถ้าเกิดนอกเขตร้อน เรียก พายุหมุนนอกเขตร้อน)
                แอนติไซโคลน (Anticyclone) ลมพายุที่พัดหมุนวนออกจากศูนย์กลางที่มีความกดอากาศสูง สู่บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำโดยรอบ
ในการเรียกชื่อพายุ มีได้ 3 แบบ คือ
                2. เรียกตามประเภทของพายุหมุน โดยใช้ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุหมุนเขตร้อนเป็นเกณฑ์
ในการเรียกชื่อพายุ มีได้ 3 แบบ คือ
                3. เรียกตามบริเวณที่เกิด

พายุหมุนมีกี่ชนิด?


พายุหมุน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
               1.พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclone)
                  เกิดเฉพาะในมหาสมุทรเขตร้อน (ละติจูด 30o เหนือถึง 30o ใต้) ที่มีอุณหภูมิของผิวน้ำทะเลสูงกว่า 26.5 oC มีกำลังแรง (ความเร็วลมอาจสูงถึง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ซึ่งบริเวณที่เกิดพายุบ่อยมีอยู่ 6 เขต
               2. พายุหมุนนอกเขตร้อน (Extratropical cyclone)
                   เกิดในเขตละติจูดกลางและในเขตละติจูดสูง มีตั้งแต่ระดับความรุนแรงไม่มาก จนถึงระดับความรุนแรงมาก เกิดในพื้นที่ 3 เขต
Slide 9
พายุหมุนเขตร้อน ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
1. ศูนย์กลางพายุ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-50 กิโลเมตร
2. ตาพายุ เป็นบริเวณจุดศูนย์กลางของพายุที่มีรูปร่างรี มีความกดอากาศต่ำที่สุด อุณหภูมิบริเวณนี้จะสูง
3. บริเวณรอบๆพายุ (แขนของพายุ) เป็นส่วนที่มีความเร็วลมสูง ก่อให้เกิดเมฆและฝนอย่างรุนแรง

ลมพายุคืออะไร?


ลมพายุ คือ ลมที่พัดด้วยความเร็วสูง เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศใน 2 บริเวณมีความแตกต่างกันมากเราเรียกลมพายุที่หมุนรอบจุดศูนย์กลางว่า พายุหมุน (Cyclonic storm)
เนื่องจากในการเกิดพายุหมุน โลกเกิดการหมุนรอบตัวเองอยู่แล้ว ทำให้ทิศทางของลมพายุที่เกิดในซีกโลกเหนือมีทิศทางการพัดเข้าหาศูนย์กลางในทิศทวนเข็มนาฬิกา และมีทิศทางของลมเข้าสู่ศูนย์กลางในทิศตามเข็มนาฬิกา ในซีกโลกใต้

ลมมรสุม


ลมมรสุมเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างพื้นทวีปกับพื้นมหาสมุทร ซึ่งเกิดเป็นบริเวณกว้างและมีช่วงเวลาในการเกิดนาน
ลมมรสุมฤดูร้อน
                - พัดจากมหาสมุทรอินเดียผ่านอ่าวไทย ละปะทะขอบฝั่ง  ตะวันออกของอ่าวไทย
                - พัดผ่านไทยตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงกลางเดือนตุลาคม
                - ขณะพัดผ่านประเทศไทยจะพัดพาไอน้ำจากมหาสมุทร  มาด้วยจำนวนมาก ทำให้มีฝนตกชุก
ลมมรสุมฤดูหนาว
                - พัดจากประเทศจีนและไซบีเรียผ่านภาคเหนือและภาค   ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมาจนถึงบริเวณอ่าวไทยตอนใต้
                - พัดผ่านไทยตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
                - ขณะพัดผ่านประเทศไทยจะทำให้อากาศมีความหนาวเย็น

ลมและพายุ


ลมมีกี่ชนิด?
ลมประจำปี - ลมสินค้า
* ลมประจำฤดู - ลมมรสุมฤดูร้อน ลมมรสุมฤดูหนาว
* ลมประจำถิ่น - ลมว่าว ลมตะเภา ลมบ้าหมู ลมสลาตัน
* ลมประจำเวลา - ลมบก ลมทะเล
* ลมพายุ

อุปกรณ์ที่ใช้วัดความเร็วลม


1. ศรลม (Wind vane)
2. มาตรความเร็วลม (Anemometer)
3. แอโรเวน (Aerovane)

ความกดอากาศสูง-ต่ำ

อากาศเย็น
- ความกดอากาศสูง - ความหนาแน่นของอากาศสูง - จมตัวลง

อากาศร้อน
- ความกดอากาศต่ำ - ความหนาแน่นของอากาศต่ำ - ลอยตัวสูงขึ้น

ลมบก-ลมทะเล


เวลากลางวัน
                พื้นดินดูดกลืนความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ ทำให้อากาศเหนือพื้นดินร้อนลอยตัวสูงขึ้น (ความกดอากาศต่ำ) อากาศเหนือพื้นน้ำมีอุณหภูมิต่ำกว่า (ความกดอากาศสูง) จึงจมตัวและเคลื่อนเข้ามาแทนที่ ทำให้เกิดลมพัดจากทะเลเข้าสู่ชายฝั่ง เรียก ลมทะเล

เวลากลางคืน
                พื้นดินคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ ทำให้อากาศเหนือพื้นดินจมตัว (ความกดอากาศสูง) และเคลื่อนตัวไปแทนที่อากาศที่อุ่น เหนือพื้นน้ำซึ่งยกตัวขึ้น (ความกดอากาศต่ำ) จึงเกิดลมพัดจากบกไปสู่ทะเล เรียก ลมบก

สาเหตุของการเกิดลม

1. ความแตกต่างของอุณหภูมิ





2. ความแตกต่างของความกดอากาศ

ลมคืออะไร?


ลม คือ มวลของอากาศที่เกิดการเคลื่อนที่ในทิศทางใดทิศทางหนึ่งในแนวระดับ

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

หิมะ?

หิมะ เป็นรูปหนึ่งของการตกลงมาของน้ำจากบรรยากาศ อยู่ในรูปของผลึกน้ำแข็งจำนวนมากเรียก เกล็ดหิมะ จับตัวรวมกันเป็นก้อน ดังนั้นหิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส

 
 




หิมะนั้นเกิดจากละอองน้ำเกิดการเกาะรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำว่า 0°C (32°F) และตกลงมา


ลูกเห็บ?


ฝนลูกเห็บมักจะมากับ พายุฝนที่รุนแรง และมักจะมีอากาศเย็น โดยที่อุณหภูมิของชั้นอากาศที่อยู่สูงนั้นเย็นกว่าอากาศที่อยู่ต่ำมาก ลูกเห็บขนาดเล็กจะถูกพัดพาสะท้อนขึ้นลงอยุ่ระหว่างชั้นบรรยากาศที่อากาศเย็นและร้อน เนื่องจากการลอยตัวขึ้นของอากาศร้อนและแรงดึงดูดของโลก ลูกเห็บที่ลอยตัวอยู่นานก็จะมีขนาดใหญ่

ลูกเห็บ มาจากไหน?

ลูกเห็บ เกิดจากละอองหยาดฝนซึ่งเย็นแบบยิ่งยวด (ยังอยู่ในสภาพของเหลวที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง) ในเมฆฝน ปะทะกับวัตถุแข็ง เช่น ผงฝุ่น หรือ ก้อนลูกเห็บที่เกาะตัวอยู่ก่อนแล้ว และแข็งตัวเกาะรอบวัตถุนั้น ๆ เป็นก้อนลูกเห็บ

น้ำค้าง (แข็ง)?

Slide 8

น้ำค้างแข็งกับน้ำค้างเหมือนหรือต่างกันไหม?
    น้ำค้างแข็ง คือ ผลึกน้ำแข็งที่เกาะตัวเป็นชั้นบางๆบนผิววัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (หยดน้ำกลายเป็นน้ำแข็ง)
    น้ำค้างแข็งจะต่างกับน้ำค้างตรงที่ สถานะ
 
 

น้ำค้างคืออะไร?

น้ำค้าง (Dew) คือ หยดน้ำที่เกาะอยู่ตามใบหญ้า ใบไม้ หรือวัตถุที่วางอยู่ใกล้พื้นดิน

 
 




น้ำค้างจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ อุณหภูมิของอากาศใกล้พื้นดินต่ำลงถึงจุดน้ำค้าง ทำให้ไอน้ำในอากาศเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ(มักเกิดตอนใกล้รุ่ง)

จุดน้ำค้าง (Dew point) คือ จุดที่อุณหภูมิของอากาศที่อยู่รอบๆวัตถุต่ำลงจนเกิดน้ำค้างเกาะบนวัตถุนั้น

หมอกคืออะไร?


หมอก เกิดจากไอน้ำเปลี่ยนสถานะเป็นหยดน้ำเล็กๆ (เกิดการควบแน่น) เช่นเดียวกับเมฆ
                                แล้วหมอกต่างจากเมฆตรงไหน?
                                 หมอกต่างจากเมฆตรงที่ เมฆเกิดจากการควบแน่นโดยการยกตัวของอากาศทำให้เมฆลอยสูงขึ้นไปปะทะกับอากาศเย็น แต่หมอกเกิดจากการควบแน่นจากความเย็นของพื้นผิว หรือการเพิ่มปริมาณไอน้ำในอากาศ

แล้วเราจะวัดปริมาณน้ำฝนอย่างไร?


เราสามารถวัดปริมาณน้ำฝนได้โดยใช้ เครื่อวมือวัดปริมาณน้ำฝน (rain gauge)

ฝนเกิดได้อย่างไร


ฝน เกิดจากการรวมตัวของหยดน้ำเล็กๆในก้อนเมฆ ทำให้หยดน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ 

จนกระแสอากาศ (อากาศที่พยุงให้เมฆลอยอยู่ได้) นั้น ไม่สามารถอุ้มหยดน้ำขนาดใหญ่ไว้ได้ หยดน้ำจึงตกลงมาเป็นฝน

หยาดน้ำฟ้า


หยาดน้ำฟ้า (precipitation) คืออะไร?
      หยาดน้ำฟ้าคือคำที่ใช้ในทางอุตุนิยมวิทยา หมายถึงหยดน้ำที่ตกจากเมฆลงสู่พื้นดินในรูปของ
      1. ของเหลว เช่น น้ำฝน น้ำค้าง
      2. ของแข็ง เช่น ลูกเห็บ น้ำค้างแข็ง หิมะ
 

เปรียบเทียบ (เกณฑ์)

การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้สมบัติของแก๊สเป็นเกณฑ์


บรรยากาศชั้นโทรโฟสเฟียร์ (Troposphere)
 - มีระยะความสูงจากผิวโลกขึ้นไปไม่เกิน 12 km
 - ส่วนผสมของอากาศที่สำคัญ ได้แก่ ไอน้ำ
 - มีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเกิดขึ้นมาก
บรรยากาศชั้นโอโซนโนสเฟียร์ (Ozonosphere)
 - มีระยะความสูงจากโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปจนถึงระดับความสูง 50-55 km จากผิวโลก
 - ส่วนผสมของอากาศที่สำคัญ ได้แก่ แก๊สโอโซน มากที่สุด
บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere)
 - มีระยะความสูงจากโอโซโนสเฟียร์ขึ้นไปจนถึงระดับความสูงประมาณ 600 km จากผิวโลก
 - มีอากาศน้อยมาก เกิดการแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้า เรียก ไอออน (Ion)
 - อากาศมีสมบัติทางไฟฟ้า ซึ่งช่วยในการสื่อสารวิทยุ
บรรยากาศชั้นเอกโซสเฟียร์ (Exosphere)
 - บรรยากาศชั้นนอกสุดของโลก
 - บรรยากาศชั้นนี้จะค่อยๆกลืนกับอวกาศ
 - ยากที่จะกำหนดขอบเขตได้
 - มีโมเลกุลแก๊สที่น้อยมาก และเป็นแก๊สที่เบา เช่น Hydrogen และ Helium

การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์


บรรยากาศชั้นโทรโฟสเฟียร์ (Troposphere)
 - มีระยะความสูงจากผิวโลกขึ้นไปไม่เกิน 15 km
 - อุณหภูมิลดลงตามระดับความสูง (6oC/km)
 - มีอากาศหนาแน่น และมีไอน้ำมาก
 - มีการเคลื่อนที่ของอากาศทั้งแนวระดับและแนวดิ่ง
 - เกิดลักษณะลมฟ้าอากาศต่างๆ เช่น เมฆ หมอก
 - มีความสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา
บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere)
 - มีระยะความสูงจากโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปจนถึงระดับความสูง 50 km จากผิวโลก
 - อุณหภูมิค่อนข้างคงที่ หรือสูงขึ้นเล็กน้อยตามระดับความสูง
 - มีความชื้น และผงฝุ่นเล็กน้อย
 - มีแก๊สโอโซนในปริมาณสูง
 (แก๊สโอโซนช่วยดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์ที่ลงมาสู่ผิวโลก ไว้บางส่วน)
บรรยากาศชั้นมีโซสเฟียร์ (Mesosphere)
 - มีระยะความสูงจากสตราโตสเฟียร์ขึ้นไปจนถึงระดับความสูง 80 km จากผิวโลก
 - อุณหภูมิลดลงตามระดับความสูง
บรรยากาศชั้นเทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere)
 - มีระยะความสูงจากมีโซสเฟียร์ขึ้นไปจนถึงระดับความสูง  400-500 km จากผิวโลก
 - อุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงความสูง 100 km แรก หลังจากนั้นอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะลดลง
 - มีอุณหภูมิประมาณ 1,227-1,727 oC
 - ความหนาแน่นของอากาศมีเล็กน้อย
 - โมเลกุลของแก๊สแตกตัวเป็นไอออนและมีประจุไฟฟ้า
 - มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere)

เราแบ่งชั้นบรรยากาศได้หรือไม่ ? อะไรเป็นเกณฑ์ ?


เราอาจแบ่งชั้นบรรยากาศได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
                1. การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์
                                Troposphere, Stratosphere, Mesosphere, Thermosphere
                2. การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้สมบัติของแก๊สเป็นเกณฑ์
                                Troposphere, Ozonosphere, Ionosphere, Exosphere

ในบรรยากาศมีอะไร ? = องค์ประกอบของบรรยากาศ ?

บรรยากาศประกอบไปด้วย
แก๊ส เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของบรรยากาศ แก๊สที่มีมากที่สุดคือ Nitrogen (~78%)
ของเหลว ได้แก่ ไอน้ำ นำไปสู่การเกิด เมฆ หมอก น้ำค้าง ทำให้อากาศมีความชื้น
ของแข็ง ได้แก่ อนุภาคของฝุ่นละอองต่างๆ (เป็นที่ยึดเกาะของหยดน้ำที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในบรรยากาศ)

บรรยากาศมีขนาดแค่ไหน ?


                                ขอบเขตของบรรยากาศ ไม่อาจบอกได้แน่นอนว่าสิ้นสุดลง ณ ที่ใด แต่ในทางฟิสิกส์ ถือว่า ถ้ายังมีปรากฏการณ์กระทบกันของอณูอากาศอยู่ ก็ถือว่ายังอยู่ในขอบเขตของบรรยากาศ
                                โดยทั่วไปแล้วอาจกล่าวได้ว่า ขอบเขตของบรรยากาศอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ ๑,๒๐๐ ไมล์เหนือระดับน้ำทะเล (ประมาณ 2000 เมตร)
1 mile = 1.609344 kilometers

บรรยากาศคืออะไร ?

บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึง อากาศที่ห่อหุ้มโลกของเรา มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ก๊าซชนิดต่างๆ ไอน้ำ ฝุ่นละออง แรงดึงดูดของโลกเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บรรยากาศมีความกดดันและความหนาแน่นสูงที่ระดับน้ำทะเลเมื่อสูงขึ้นไปความกดดันและความหนาแน่นของบรรยากาศจะลดลงตามลำดับ

เมฆที่ก่อตัวในแนวตั้ง

Slide 11
Slide 11

Cumulus
Cumulonimbus