วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์


บรรยากาศชั้นโทรโฟสเฟียร์ (Troposphere)
 - มีระยะความสูงจากผิวโลกขึ้นไปไม่เกิน 15 km
 - อุณหภูมิลดลงตามระดับความสูง (6oC/km)
 - มีอากาศหนาแน่น และมีไอน้ำมาก
 - มีการเคลื่อนที่ของอากาศทั้งแนวระดับและแนวดิ่ง
 - เกิดลักษณะลมฟ้าอากาศต่างๆ เช่น เมฆ หมอก
 - มีความสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา
บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere)
 - มีระยะความสูงจากโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปจนถึงระดับความสูง 50 km จากผิวโลก
 - อุณหภูมิค่อนข้างคงที่ หรือสูงขึ้นเล็กน้อยตามระดับความสูง
 - มีความชื้น และผงฝุ่นเล็กน้อย
 - มีแก๊สโอโซนในปริมาณสูง
 (แก๊สโอโซนช่วยดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์ที่ลงมาสู่ผิวโลก ไว้บางส่วน)
บรรยากาศชั้นมีโซสเฟียร์ (Mesosphere)
 - มีระยะความสูงจากสตราโตสเฟียร์ขึ้นไปจนถึงระดับความสูง 80 km จากผิวโลก
 - อุณหภูมิลดลงตามระดับความสูง
บรรยากาศชั้นเทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere)
 - มีระยะความสูงจากมีโซสเฟียร์ขึ้นไปจนถึงระดับความสูง  400-500 km จากผิวโลก
 - อุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงความสูง 100 km แรก หลังจากนั้นอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะลดลง
 - มีอุณหภูมิประมาณ 1,227-1,727 oC
 - ความหนาแน่นของอากาศมีเล็กน้อย
 - โมเลกุลของแก๊สแตกตัวเป็นไอออนและมีประจุไฟฟ้า
 - มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น